Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ไขความลับการดำน้ำลึกๆของแมลงวันอัลคาไล

🐞ไขความลับดำน้ำลึกของแมลงวันอัลคาไลแมลงวันไม่ได้
มีเพียงชนิดที่เรามักจะเห็นว่ามันชอบบินไต่ตอมอาหารหรือของเน่าเสีย แต่ยังมีแมลงวันบางชนิดสร้างความแปลกใจแก่นักวิทยาศาสตร์ นั่นคือแมลงวันอัลคาไล (Alkali fly) 
เป็นแมลงวันขนาดเล็กที่พบตามแหล่งน้ำ เช่น หนอง บึง รวมถึงเจอบริเวณชายฝั่งทะเล และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ephydra hians นักชีววิทยาจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียได้ศึกษาพบว่าพวกมันดำน้ำลึกได้อย่างน่าทึ่ง

นักชีววิทยาเผยว่าแมลงวันตัวเล็กๆ ชนิดนี้เจริญเติบโตอยู่แถบทะเลสาบแคลิฟอร์เนียทางตะวันออกของอุทยานแห่งชาติโยเซมิตี รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่พื้นที่ดังกล่าวนั้นรู้กันว่าไม่เหมาะจะอยู่อาศัย แต่เจ้าแมลงวันอัลคาไลกลับใช้ชีวิตอยู่ได้

พฤติกรรมที่น่าสนใจของมันคือ มันสามารถดำลงไปในน้ำลึกของทะเลสาบโมโน 
(Mono Lake) ซึ่งได้ชื่อว่ามีปริมาณ โซเดียมคาร์บอเนตมากเกินไป เรียกว่าเค็มกว่าน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกถึง 3เท่า เลยทีเดียว นักชีววิทยาอธิบายว่าแมลงวันอัลคาไล
มีลักษณะเฉพาะตัวคือพวกมันสามารถสร้างฟองอากาศป้องกันเพื่อดำน้ำได้ เพราะตัวของมันเต็มไปด้วยขนละเอียด ปกคลุมจำนวนมากแถมยังเคลือบด้วยขี้ผึ้งพิเศษที่ช่วยหุ้มตัวไว้เหมือนฟองสบู่ ยกเว้นแต่บริเวณดวงตาเพื่อทำให้มองเห็นใต้น้ำได้ดี
การที่แมลงวันชนิดดังกล่าวมีกลไกปกป้องร่างกายจากสภาพรุนแรงของน้ำในทะเลสาบและยังทนทานต่อความเค็มหรือความเป็นด่างของน้ำได้นั้น เพราะพวกมันต้องการลงไปกัดกินสาหร่ายเป็นอาหารและวางไข่ไว้บางส่วน หลังจากนั้นก็จะปล่อยตัวลอยขึ้นไปบนผิวน้ำให้ตัวแห้งและปลอดภัย.

รายการบล็อกของฉัน