Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

เหี้ย (Varanus salvator)

เหี้ย (Varanus salvator)
ชื่ออังกฤษ :  Water Monitor
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Varanus salvator
วงศ์ :  VARANIDAE
แนวคิดเปลี่ยนชื่อเป็นวรนุช
ครั้งหนึ่ง เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพูดกันเป็นวงในว่า จะเปลี่ยนชื่อจากตัวเหี้ยเป็น "วรนัส" หรือ "วรนุส" หรือ "วรนุช" (สกุล Varanus อ่านเป็นภาษาละตินว่า วารานุส ซึ่งคล้ายกับคำว่า วรนุช) จนเกิดเป็นกระแสข่าวอยู่ช่วงหนึ่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งหลังจากที่มีกระแสข่าวนี้ออกมา คำว่าวรนุชนั้นก็ถูกนำไปใช้ในการสื่อความหมายไปในทางเสื่อมเสียบนอินเทอร์เน็ต และส่งผลกระทบแต่บุคคลที่ชื่อวรนุชไปโดยปริยาย
ถิ่นกำเนิด :  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียและศรีลังกา ในไทยพบได้ทุกภาค
การขยายพันธุ์ :  ขุดหลุมหรือทำโพรงเป็นที่ วางไข่ ไม่ฟักไข่ คือพ่อแม่ไม่ต้องกกไข่ ลูกฟักตัวออกมาเองจากไข่โดยธรรมชาติ ลูกออกมาจากไข่แล้วหากินเอง ไข่เปลือกนิ่มแต่เหนียว
อาหาร :  ไม่เลือกอาหาร กินทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์ปีก เช่น ไก่ นก ปลา กบ เขียด หนู กินได้ทั้งของสดและของเน่า
ขนาด :  ความยาวยาวประมาณ 40เซนติเมตร หางยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ( ตัวใหญ่สุดเคยวัดได้ยาวถึง 2.5 เมตร)
สัตว์เศรษฐกิจปัจจุบัน เหี้ยถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจอย่างหนึ่ง ที่มีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกัน เพื่อนำเนื้อไปใช้ในการบริโภค โดยเฉพาะเนื้อบริเวณส่วนโคนหางที่เรียกว่า "บ้องตัน" และหนังไปทำเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า, เข็มขัด เช่นเดียวกับจระเข้

"ตัวเงินตัวทอง" หรือ "ตัวเหี้ย" เป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่ม monitor lizard ด้วยรูปร่างที่แปลกประหลาด ดูน่าเกลียดน่ากลัวในสายตาของคนทั่วไป และพฤติกรรมส่วนตัวของมันที่เป็นนักฉกฉวยโอกาส ลักขโมยไม่ว่าจะเป็น ไข่ของสัตว์อื่นๆ หรือสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ ทำให้คำว่าตัวเหี้ยกลายเป็นภาษาที่ไม่สุภาพในที่สุด ทั้งที่แท้จริงแล้ว "เหี้ย" คือชื่อที่ถูกต้อง
ตัวเหี้ย (Varanus salvator) หรือชื่อสากลว่า water monitor มี รูปร่างดูคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ ปลายลิ้นแยกเป็นสองแฉกคล้ายงู ใช้สำหรับรับกลิ่นต่างๆ รอบตัว ชอบอาศัยอยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำ พบได้ทั้งในบริเวณแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ป่าจากและป่าชายเลน ว่ายน้ำเก่งกว่าเพื่อนๆ ในสกุลเดียวกัน ดำน้ำได้นาน เวลาที่ตกใจหรือเจอศัตรู มักจะหนีลงน้ำไปอย่างรวดเร็ว ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็นๆ เช่นไก่หรือเป็ดที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้

การผสมพันธุ์ออกลูกเป็นไข่คราวละ 15-20 ฟอง และใช้เวลาฟัก 45-50 วัน ทั้งนี้ตัวเหี้ยจะวางไข่ในปลายฤดูร้อนต่อเนื่องฤดูฝน จะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย โดยออกลูกเป็นไข่
ไข่จะมีลักษณะรียาว บางครั้งจะสีขาวขุ่น วางไข่ประมาณ 6-50 ฟอง ในแต่ละปีจะสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง หรืออาจมากกว่านั้นในพื้นที่ซึ่งสภาพในฤดูแล้งและฤดูฝนไม่แตกต่างกัน ไข่จะถูกกลบเป็นเนินดินหรือรังปลวก เวลาในการฟักขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม

ในประเทศไทย เพื่อนๆ ของตัวเหี้ยยังมีอยู่อีก 3 ชนิด ตัวแรกคือ คือ ตะกวด (Varanus bengalensis nebulosus) หรือภาษาอีสานเรียกว่า "แลน" คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเหี้ยเสมอ ตะกวดจะมีสีเรียบออกโทนสีน้ำตาลทั้งตัว ขณะที่ลำตัวของตัวเหี้ยเป็นสีดำมีลายดอกสีเหลืองเรียงอยู่อย่างมีระเบียบ รูปร่างส่วนใหญ่อาจจะดูคล้ายกัน แต่เมื่อสังเกตที่รูจมูกของตะกวด จะเห็นว่าอยู่ห่างจากปลายปากมาก ต่างจากตัวเหี้ยซึ่งรูจมูกอยู่ใกล้ปลายปากมาก
http://www.youtube.com/watch?v=JEBQGBagW8M
อีก 2 ชนิดที่เหลือคือ เห่าช้าง (Varanus rudicollis) และตุ๊ดตู่ (Varanus dumerilii) พบทางแถบตอนใต้ของประเทศไทยเท่านั้น เห่าช้างฟังชื่อดูคล้ายงูเห่า แต่จริงๆ แล้วเป็นกลุ่มเดียวกับตะกวดและตัวเหี้ย เกล็ดที่คอดูคล้ายๆ หนามของทุเรียน ตัวสีดำมัน มีจุดสีเหลืองบ้างประปราย ชื่อเห่าช้างได้มาจากเสียงที่ใช้ขู่ศัตรู ฟังดูคล้ายเสียงขู่ของงูเห่า ส่วนเพื่อนชนิดสุดท้ายของตัวเหี้ยคือ ตุ๊ดตู่ เป็นชนิดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย เกล็ดที่คอแบนราบมีขนาดใหญ่ เมื่อออกมาจากไข่ 1-2 สัปดาห์แรกจะมีสีสันที่หัวเป็นสีส้ม สวยงามมาก จากนั้นสีส้มนี้จะค่อยๆ จางหายไป นิสัยรักสงบ ไม่ดุร้าย          
ปัจจุบันสัตว์สกุลนี้ ถูกคุกคามอย่างหนัก ทั้งจากการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเห่าช้างและตุ๊ดตู่ หนำซ้ำยังมีการล่าจากพวกพ่อค้าสัตว์ป่าด้วย เพื่อเป็นอาหารและนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง ยิ่งเมื่อพื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งถูกแปรสภาพเป็นตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทาง หรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่รองรับการขยายถิ่นฐานของคนเรา ยิ่งทำให้ที่อยู่อาศัยของพวกมันลดน้อยลง...
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย manes

รายการบล็อกของฉัน