Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ไก่ฟ้าหลังขาวไก่ฟ้าสีแปลกๆที่มีเอกลักษณ์และความสวยงามโดดเด่นเฉพาะตัว


ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าสีแปลกๆที่มีเอกลักษณ์และความสวยงามโดดเด่นเฉพาะตัว

ไก่ฟ้าหลังขาว


ไก่ฟ้าหลังขาว (อังกฤษ: Silver pheasant; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lophura nycthemera) เป็นนกในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) ที่พบในป่าในภูมิภาคอินโดจีน และทางตะวันออกและทางใต้ของจีน ถูกนำเข้าไปในรัฐฮาวายและในบางส่วนของสหรัฐอเมริกา 

ตัวผู้มีสีดำและขาว ตัวเมียมีสีน้ำตาล ทั้งสองเพศมีหน้ากากหนังสีแดงที่หน้า ขามีสีแดง (ใช้แบ่งชนิดจากไก่ฟ้าหลังเทาที่มีขาสีเทา)


ไข่ของไก่ฟ้าหลังขาว
ลักษณะ
ไก่ฟ้าหลังขาว เป็นนกขนาดกลาง - ใหญ่ ความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง ประมาณ 50 - 125 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ ไก่ฟ้าหลังขาว และไก่ฟ้าหลังขาวจันทรบูร ตัวผู้มีขนหงอนบนหัวสีน้ำเงินแก่ยาวคลุมท้ายทอย ใบหน้ามีแผ่นหนังสีแดง ขนตอนบนของลำตัวส่วนใหญ่และปีกสีขาววาวเหมือนเงิน มีลายเป็นเส้นบาง ๆ สีดำเป็นรูปตัววี (V) อยู่บนขน ตัวเมียมีขนหงอนบนหัวสีน้ำเงินแก่ แต่มีเพียงเล็กน้อยพอสังเกตเห็นเท่านั้น ขนตามตัวส่วนใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ แข้งสีแดง ไม่มีเดือย


การกระจายพันธุ์
พบในประเทศจีน พม่า ไทย และ อินโดจีน ในประเทศไทยพบทาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก


พฤติกรรม
หากินเป็นคู่ ๆ ไม่ชอบอยู่เป็นฝูงเหมือนไก่ป่า หากินตอนเช้าและพลบค่ำ ในเวลากลางคืนจะจับคอนนอนตามกิ่งไม้ หรือกิ่งไผ่ เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3 ปี วางไข่ครั้งละ 4 - 6 ฟอง ระยะฟักไข่นาน 23 - 24 วัน โดยตัวเมียฟักไข่เพียงตัวเดียว ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมทั่วตัว เมื่อขนแห้งก็เดินตามแม่ไปหาอาหารกินได้เลย อาหารได้แก่ เมล็ดพืช ดอกหญ้า ใบไม้ ผลไม้ แมลง ตัวหนอน ไข่มด


รายการบล็อกของฉัน