Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566

งานวิจัยใหม่ไขความลับ ทำไมกบถึงรอดชีวิตจากดาวเคราะห์น้อยที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์


 ‘ไม่มากไป ไม่น้อยไป’ งานวิจัยใหม่ไขความลับ ทำไมกบถึงรอดชีวิตจากดาวเคราะห์น้อยที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ บางทีเคล็ดลับอาจอยู่ที่การมีขนาดตัวกลาง ๆ ในวันที่เลวร้ายที่สุดของโลก

เมื่อดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกเมื่อราว 66 ล้านปีก่อน มันทำสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งโลก เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงพร้อมกับภูเขาไฟระเบิด เศษซากของการพุ่งชนได้กระเด็นตกลงมาราวกับฝนอุกกาบาตเล็ก ๆ ไม่เพียงเท่านั้น มันยังทำให้เกิดฝุ่นปกคลุมแสงแดดกลายเป็นฤดูหนาวอันมืดมิดตามมา



เหตุการณ์การในครั้งนั้นรู้จักกันในชื่อ ‘การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคครีเทเชียส’ ซึ่งได้กวาดล้างสิ่งมีชีวิตบนโลกกว่า 75% ของทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นไดโนเสาร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และพืชพรรณอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก แต่กลับมีสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่ดูเหมือนว่าจะได้รับผลกระทบไม่มาก นั่นคือ กบ

“ความสามารถในการฟื้นตัวของกบที่มีระดับสูง ต่อการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งนั้นเป็นปริศนา” Anderson Feijó นักชีววิทยาจากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน กล่าว แต่ตอนนี้พวกเขาคิดว่าเจอคำตอบสำหรับคำถามนี้แล้ว พร้อมกับตีพิมพ์มันในวารสาร Climate Change Ecology 

พวกเขาพบว่ากบที่รอดชีวิตนั้นมักมีขนาดที่ไม่ใหญ่เกินไป หรือเล็กเกินไป แต่เป็นกบจำพวกที่มีขนาดอยู่ระหว่างกลางของสองอย่างนี้ โดยปัจจุบันกบที่เล็กที่สุดมีขนาดราว ¼ นิ้วเท่านั้น ขณะที่กบใหญ่ที่สุดนั้นอาจใหญ่ได้ถึง 1 ฟุต หรือราว 0.3 เมตร 

แต่ Feijó พบว่าในช่วงหลังเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยชนโลกกบที่มีจำนวนมากที่สุดคือกบที่ขนาดประมาณ 3 นิ้ว เหตุทำไมต้องเป็นขนาดกลาง? สิ่งนี้ช่วยให้พวกมันรอดได้ยังไง? ผู้ร่วมวิจัย Catharina Karlsson ตั้งข้อสังเกตว่า กบกลาง ๆ สามารถปรับตัวได้ง่ายกว่าในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง


เรื่องของเรื่องก็คือ กบนั้นเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่ต้องอยู่ในที่ชื้นเพื่อความอยู่รอด ทีนี้กบพันธุ์เล็กนั้นมีความสามารถดูดซับน้ำได้เร็ว แต่ก็แห้งเร็วเช่นกันในสภาพอากาศที่ร้อนกว่า กลับกันกบตัวใหญ่สามารถเก็บน้ำได้ดีกว่า แต่ก็จะใช้เวลาทำให้แห้งนานกว่า 

เมื่อเกิดสภาพอากาศรุนแรงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่น เหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยชนโลก กบที่อยู่ปลายด้านใดด้านหนึ่ง (ขนาดตัว) ก็จะเจอความท้าทายใหม่ ๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ยาก หรือขนาดตัวเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต สิ่งนี้ทำให้กบที่อยู่ตรงกลางเหมาะสมกว่าที่จะอยู่รอด

ไม่ใช่แค่ภัยพิบัติเมื่อ 66 ล้านปีก่อนเท่านั้น แต่ฟอสซิลกบช่วง 220 ล้านปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กบขนาดกลาง ๆ ดูเหมือนจะมีชีวิตรอดได้ดีกว่ากบตัวเล็ก ๆ หรือตัวโต ๆ เมื่อต้องเจอกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เรามีสายพันธุ์กบตัวเล็กและกบตัวใหญ่น้อยกว่า


“ด้วยเหตุผลทางชีววิทยาหลายประการ กบขนาดกลางที่อยู่อาศัยอยู่ในปัจจุบันดูเหมือนจะมีขนาดร่างกายที่เหมาะสมที่สุด ในการจัดการกับความเครียดจากสิ่งแวดล้อม” James Gardner ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์บรรพชีวินวิทยารอยัลไทเรลล์ กล่าว

ผลลัพธ์เหล่านี้อาจให้เบาะแสกับนักอนุรักษ์ว่า กบชนิดใดในปัจจุบันที่อาจมีความเสี่ยงมากที่สุดในโลกที่สภาพอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงไป

รายการบล็อกของฉัน