Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

พบสายพันธุ์ใหม่ของปูโบราณอายุ 95 ล้านปี


เมื่อเร็วๆ นี้ทีมนักวิจัยนานาชาตินำโดยนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเยลในสหรัฐอเมริกา ประกาศการค้นพบว่าตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ของสัตว์ขนาดเล็กที่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ซึ่งได้มาจากประเทศโคลอมเบียและสหรัฐอเมริกา ซากเหล่านี้ระบุอายุย้อนหลังไปถึงกลางยุคครีเตเชียสเมื่อ 90-95 ล้านปีก่อน และที่น่าสนใจที่สุดก็คือมีซากของสัตว์ที่ตั้งชื่อว่า Callichimaera perplexa

Callichimaera perplexa จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด (arthropod) หรือสัตว์ขาปล้อง ซึ่ง Callichimaera perplexa ว่ายน้ำได้ด้วยขาที่เหมือนใบพาย ขนาดตัวเล็ก ดวงตากลมใหญ่ กรงเล็บงอ ส่วนของปากเหมือนขา มีหางโผล่ ลำตัวยาว อันเป็นลักษณะทั่วไปของตัวอ่อนปูที่ก้นสมุทร สันนิษฐานพวกมันผ่านการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาอันยาวนานและมีอัตราการพัฒนาซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า “heterochrony” ที่อาจนำไปสู่วิวัฒนาการของรูปร่างแบบใหม่


ภาพ : Daniel Ocampo R., Vencejo Films
นักบรรพชีวินวิทยาเผยว่า Callichimaera perplexa มีเอกลักษณ์และแปลกประหลาดมาก จนเปรียบเทียบได้ว่ามันเป็นตุ่นปากเป็ดในโลกของปู บ่งชี้เป็นนัยๆว่ารูปแบบใหม่ของมันมีวิวัฒนาการและมีความแตกต่างกันไปตามกาล


เวลา ทั้งนี้ เวลานึกถึงปูก็จะเห็นภาพกระดองกว้าง ก้ามแข็งแรง ตาเล็ก และมีหางเล็กๆ ซ่อนอยู่ภายในร่างกาย แต่ Callichimaera perplexa ทำให้นักบรรพชีวินวิทยาต้องกลับมาทบทวนใหม่เกี่ยวกับนิยามปู.

รายการบล็อกของฉัน