หลังจากตั้งกล้องดักถ่ายภาพไว้เป็นคืนที่สี่ ช่างภาพผู้นี้ก็สามารถบันทึกภาพเสือดาวดำตัวหนึ่งที่กำลังออกหากินเอาไว้ได้ โดยคาดว่าเป็นเสือตัวผู้ที่มีอายุราว 2 ปี นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1909 ที่มีผู้ถ่ายภาพเสือชนิดนี้ได้ในผืนป่าของทวีปแอฟริกา
คาดว่าเสือดาวดำตัวนี้เป็นตัวผู้ที่มีอายุราว 2 ปี
เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยพากันตื่นเต้นฮือฮา หลังภาพยนตร์ดังแนวซูเปอร์ฮีโรเรื่องแบล็กแพนเทอร์ (Black Panther) ได้ทำให้เสือดำกลายเป็นสัญลักษณ์ของวีรบุรุษเชื้อสายแอฟริกัน ผู้ใช้โซเชียลมีเดียบางรายอ้างว่า อาณาจักร "วากานดา" ของราชาเสือดำในภาพยนตร์นั้น อยู่ไม่ไกลจากถิ่นที่พบเสือดาวดำในครั้งนี้
อันที่จริงแล้ว คำว่าเสือดำนั้นเป็นชื่อใช้เรียกเสือทุกชนิดที่มียีนกลายพันธุ์ซึ่งทำให้ร่างกายผลิตเม็ดสีปริมาณมากกว่าปกติ ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า Melanism ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์แบบเดียวกับคนและสัตว์ผิวเผือก (Albino) แต่ทำให้ผิวและขนกลายเป็นสีดำสนิท
นายวิล เบอร์ราร์ด-ลูคัส ผู้บันทึกภาพเสือดาวดำตัวนี้ได้ หวังว่าจะสามารถถ่ายภาพของพวกมันได้มากขึ้นในอนาคต
เสือดำที่พบในเอเชียและแอฟริกานั้นเป็นเสือดาว จึงมีการเรียกชื่อของมันว่า "เสือดาวดำ" ด้วย โดยบริเวณท้องและบางส่วนของร่างกายจะมีสีดำไม่เข้มนัก ทำให้ยังสามารถมองเห็นลายจุดแบบเสือดาวได้ ส่วนเสือดำที่พบในภูมิภาคอเมริกาใต้จะเป็นเสือจากัวร์
เสือดาวดำอาจไม่ได้เกิดมาจากพ่อแม่ที่เป็นสีดำทั้งคู่ โดยเสือดาวที่มีผิวและสีขนปกติก็สามารถให้กำเนิดเสือดาวดำได้ หากทั้งพ่อเสือและแม่เสือมียีนกลายพันธุ์แฝงอยู่
ดวงตาของเสือดำลุกวาวท่ามกลางความมืด
เสือดาวที่ผ่านมาเข้ากล้องกับเขาด้วยตัวนี้ อาจเป็นพ่อของเสือดำอายุน้อยก็เป็นได้
ดร. นิโคลัส พิลโฟลด์ หัวหน้านักวิจัยในโครงการอนุรักษ์พันธุ์เสือดาวของเขตไลกีเปียในเคนยา (Laikipia County)
ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งเดียวในทวีปแอฟริกาที่มีเสือดาวดำอาศัยอยู่ บอกว่าทีมวิจัยของตนก็สามารถบันทึกภาพเสือดาวดำตัวเมียอายุน้อยตัวหนึ่งเอาไว้ได้เช่นกัน ทำให้ประมาณการได้ว่ามีเสือดำอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวของเคนยาอย่างน้อย 2-3 ตัว
ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งเดียวในทวีปแอฟริกาที่มีเสือดาวดำอาศัยอยู่ บอกว่าทีมวิจัยของตนก็สามารถบันทึกภาพเสือดาวดำตัวเมียอายุน้อยตัวหนึ่งเอาไว้ได้เช่นกัน ทำให้ประมาณการได้ว่ามีเสือดำอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวของเคนยาอย่างน้อย 2-3 ตัว