Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

นักวิจัยพบหนทาง ที่อาจทำให้ผู้ที่สูญเสียอวัยวะงอกกลับมาได้ซ่อนอยู่ในหางของตุ๊กแก

🐊ดอกเตอร์แมทธิว วิคคาเรียส ผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Sciences) จาก University of Guelph ประเทศแคนาดา ได้ทำการศึกษาและวิจัยความสามารถในการงอกหางใหม่ได้เรื่อยๆ ตลอดอายุขัยของตุ๊กแก 
หวังอาจเป็นหนทางพบวิธีการรักษาอาการบาดเจ็บเกี่ยวกับไขสันหลังของมนุษย์
ข้อจำกัดของมนุษย์ก็คือ หากมนุษย์ผู้นั้นสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งไปอาจจะต้องสูญเสียไปตลอดกาล อย่างเช่นแขนขาว ขาขาด มนุษย์ไม่สามารถทำให้งอกกลับมาได้ แตกต่างกับสัตว์เลื้อยคลานอย่างตุ๊ํกแกรวมถึงจิ้งจก ซึ่งมีการตอบสนองป้องกันตนเองด้วยการสละหางทิ้ง ทั้งยังหลุดออกจากตัวอย่างง่ายดาย แล้วสามารถงอกหางใหม่ขึ้นมาทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ในเวลาราว 1 เดือน และทราบหรือไม่ว่า ไขสันหลังของตุ๊กแกนั้นในส่วนหาง แทนที่จะเป็นส่วนลำตัว

โดยขั้นตอนในการงอกหางของตุ๊กแกมีดังนี้ เมื่อหางของหลุด กลุ่มเรเดียล เกลีย เซลล์ (radial glia cells สเต็มเซลล์ชนิดหนึ่ง) จะเพิ่มจำนวนขึ้นทวีคูณ และผลิตโปรตีนหลายชนิด จนทำให้หางใหม่ก็จะค่อยๆงอกออกมาจนทดแทนของเดิมได้สมบูรณ์ แต่กลับกัน หากนำหางที่หลุดเข้าไปต่อในขณะที่แผลยังสด แผลตรงนั้นจะสมานตัวกันอย่างรวดเร็ว และหางใหม่จะไม่งอกออกมาอีกเลย

จากความรู้ในส่วนนี้ ทีมวิจัยได้ตั้งคำถามต่อไปว่า หากสามารถนำ สเต็มเซลล์เรเดียล เกลีย นี้ใส่เข้าไปยังจุดที่ร่างกายมนุษย์เกิดบาดเจ็บ จะสามารถยับยั้งกระบวนการสมานแผลของร่างกายได้ไหม และจะเกิดการสร้างส่วนที่บาดเจ็บขึ้นทดแทนของเก่าได้หรือไม่
จากความสำเร็จก้าวแรกของการวิจัย ภารกิจในลำดับต่อไปกคือศึกษาว่าตุ๊กแกมีกระบวนการสร้างใหม่ทดแทนอวัยวะบาดเจ็บในส่วนอื่นๆ ของร่างกสย รวมถึงสมองอย่างไร เพื่อที่จะทำความเข้าใจระบบการทำงานของสเต็มเซลล์ เรเดียล เกลีย เซลล์ ในภาวะต่างๆ ให้มากขึ้น แต่ผมเชื่อว่าในอนาคตมนุษย์เราต้องสามารถทำได้อย่างแน่นอน
ที่มา – pop

รายการบล็อกของฉัน