Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2566

นักวิทยาศาสตร์สุดงง พบกุ้งสายพันธุ์ใหม่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ในเทือกเขาชื่อว่า ไซคล็อปส์ ในปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย


นักวิทยาศาสตร์งงตาเหลือกเมื่อพบกุ้งสายพันธุ์หนึ่งสายพันธุ์ใหม่อาศัยอยู่ตามต้นไม้มันเป็นไปได้ยังไงกุ้งมันต้องอยู่ในน้ำสิแล้วมีกุ้งอะไรมันอยู่ตามต้นไม้แปลกมากๆตามข่าวข้างล่างนี้เลยนะครับ

แต่ถ้าจะให้ตั้งสมมติฐานบางทีมันอาจจะเป็นตัวอ่อนของแมลงอะไรบางอย่างที่ตัวคล้ายกุ้งเมื่อนักวิทยาศาสตร์เห็นว่ามันเป็นตัวคล้ายกุ้งก็เลยตาเหลือกตาปลิ้นเหมารวมเป็นกุ้งไปเลย 

แต่ก็อย่างว่าล่ะครับเพราะนักวิทยาศาสตร์เขามีตำราวิชาการเปรียบเทียบมันน่าจะเป็นกุ้งแต่ทำไมกุ้งไปถึงถึงไปอยู่บนต้นไม้ก็ไม่ทราบนะครับ

นักวิทยาศาสตร์สุดงง พบกุ้งสายพันธุ์ใหม่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ในเทือกเขาชื่อว่า ไซคล็อปส์ ในปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย การสำรวจครั้งนี้สร้างความประหลาดใจให้กับทีมวิจัยและเราก็ด้วยเช่นกัน 

การค้นพบครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในการสำรวจสัตว์เพื่อตามหาสิ่งมีชีวิตที่คิดกันว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว หนึ่งในนั้นคือตัว ‘อิคิดนา’ ชื่อสายพันธุ์ Attenborough’s long-beaked echidna ที่สูญหายไปกว่า 60 ปีจนเป็นข่าวโด่งดังในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามทีมนักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ได้รับความสนใจน้อยกว่า แต่กลับแปลกประหลาดยิ่งกว่าตัวอิคิดนา 

“นั่นไม่ใช่ที่ที่กุ้งอยู่อาศัย(ตามปกติ)” ดร. Leonidas-Romanos Davranoglou หัวหน้านักกีฎวิทยาของคณะสำรวจจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด กล่าว “เราตกใจมากที่ค้นพบกุ้งประเภทนี้ในใจกลางป่า เพราะมันเป็นห่างไกลจากแหล่งอาศัยริมทะเลทั่วไปของสัตว์เหล่านี้” 


การประเมินเบื้องต้นชี้ว่าสัตว์จำพวกครัสเตเชียนเหล่านี้น่าจะเป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่ทีมสำรวจยังไม่ได้ตั้งชื่อให้ พวกมันอยู่เต็มไปหมดในป่า ทั้งตามต้นไม้ มอส ท่อนไม้ที่เน่าเปื่อย หรือแม้แต่โขดหิน พวกเขาเชื่อว่าปริมาณน้ำฝนที่สูงของเทือกเขา นั้นอาจเพียงพอในสิ่งมีชีวิตชนิดนี้อาศัยอยู่บนบกที่ห่างจากทะเลได้
.
ซึ่งหมายความว่าพวกมันสามารถหายใจได้ปกติเมื่อมีน้ำ แน่นอนว่ายังต้องมีการศึกษาต่อไปเพื่อดูว่ากุ้งเหล่านี้ใช้ชีวิตยังไงกันแน่ แต่การสำรวจครั้งนี้เป็นไปอย่างยากลำบาก ทีมงานหลายคนได้รับบาดเจ็บ และล้มป่วย พวกเขาต้องเจอกับงูและแมงมุมพิษมากมาย 
.
ถึงอย่างนั้นทีมวิจัยก็ยังบอกว่าพวกเขาหลงรักภูมิประเทศแห่งนี้ มันสวยงามแต่ก็อันตราย ทีมงานได้พบสัตว์หลายชนิดที่ขาดการบันทึกไปหลายสิบปีเช่น แมงมุมตาบอด จิ้งหรีดตัวใหญ่ หรือแมงป่องยักษ์ สายพันธุ์เหล่านี้ต่างมีคุณค่าในระบบนิเวศ 

“การปกป้องประวัติศาสตร์วิวัฒนาการที่มีเอกลักษณ์และเปราะบางนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง” ดร. James Kempton นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดกล่าว 

มีสัตว์มากกว่า 2,000 ชนิดที่ขาดข้อมูลไปนับทศวรรษ จึงมีความสำคัญยิ่งที่จะต้องทราบว่าสายพันธุ์ดังกล่าวสูญพันธุ์ไปแล้วรึยัง หรือพวกมันยังคงอยู่รอบ ๆ เรา ขั้นตอนต่อไปทีมงานวางแผนที่จะตั้งชื่อให้กับสิ่งมีชีวิตร่วมกับคนในท้องถิ่น ซึ่งหวังว่าจะทำให้หลายคนตระหนักได้ถึงคุณค่าของสิ่งเหล่านี้

“ผมหวังและเชื่อว่าสิ่งนี้จะกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการอนุรักษ์เทือกเขาอย่างมุ่งมั่น” Iain Kobak ผู้ร่วมก่อตั้ง Yappenda ซึ่งเป็นมูลนิธิการอนุรักษณ์และการวิจัยในปาปัว กล่าว

รายการบล็อกของฉัน