เผยโฉมหน้าวัวป่าดึกดำบรรพ์ บรรพบุรุษของ ‘สเต็กเนื้อ’ บนจานของใครหลายๆ คน มาถึงวันนี้มันอาจคืนชีพได้อีกครั้งด้วยวิทยาศาสตร์ เป็นยังไง มาดู
ถึงวัวจะเป็นสัตว์เลี้ยงกลุ่มแรกๆ ของมนุษย์ แต่เจ้าแหล่งโปรตีนที่เราคุ้นเคยนี้ เดิมทีก็ไม่ใช่สัตว์เชื่องๆ ที่โดนเราจับไปเชือดง่ายๆ แถมยังเป็นจัดเป็นสัตวกินพืชร่างยักษ์ที่แม้แต่นักล่าร่วมยุคยังต้องยอมหลีกทางให้กับเขาขนาดมหึมาที่มีความคมเหมือนหอกของ วัวป่าออรอช (Auroch) ต้นตระกูลของบรรดาวัวที่กลายมาเป็น ‘สเต็กเนื้อ’ บนจานของใครหลายๆ
ซึ่งจัดเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่สามารถย้อนอายุกลับไปได้ถึง 250,000 ปีก่อน และเป็นช่วงที่ยืนยันว่าเหลือวัวออรอชอยู่แต่ในทวีปยุโรปเท่านั้น
แม้จะเหลือรอดมาจากยุคน้ำแข็ง และอยู่จนถึงยุคของมนุษย์ปัจจุบัน แต่ด้วยขนาดมหึมา จนถูกยกให้เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง ทำให้บรรดาเชื้อพระวงศ์ในยุคกลางของยุโรปไล่ล่ามันเพื่อเป็นการประลองฝีมือ จนทำให้วัวชนิดนี้ค่อยๆ สูญพันธุ์ไป โดยมีหลักฐานว่าวัวฝูงสุดท้ายถูกพบใน Jaktorow Forest ของประเทศโปแลนด์ และวัวตัวสุดท้ายถูกฆ่าโดยเชื้อพระวงศ์โปแลนด์ในปี ค.ศ. 1627
เชิญรับชม
แม้จะได้รับการยืนยันว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ด้วยลักษณะพันธุกรรมที่สืบทอดอยู่ในตัวลูกหลานวัวพื้นเมืองของมัน นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่า พวกเขาสามารถถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อชุบชีวิตวัวป่าพันธุ์นี้กลับมามีชีวิตได้อีกครั้ง แถมยังมีวัวหลายสายพันธุ์ที่ยังคงความดิบเถื่อนของออรอชเอาไว้อย่างครบถ้วน เช่น วัวกระทิงสเปน ซึ่งมีทั้งรูปร่าง นิสัย และลักษณะเขาที่ใกล้เคียงกับบรรพบุรุษของมันมาก เว้นแต่ขนาดที่เล็กลง
นอกจากนี้ยังมีการพบว่า วัวบ้านที่ถูกปล่อยให้เอาตัวรอดตามธรรมชาติ และผลิตลูกหลานที่เป็นวัวป่าโดยกำเนิดขึ้นมานั้น จะมีลักษณะกลับไปคล้ายกับกลับออรอชอีกครั้ง โดยเฉพาะลักษณะของเขาและความดุของมันที่อาจไม่เคยปรากฏในวัวเลี้ยงที่เป็นพ่อแม่ของมันเลย